หลายคนเข้าใจว่าการ เรียนรู้เร็ว ความจำดี ต้องฝึกฝนมาตั้งแต่ยังเด็ก และต้องเป็นคนที่เรียนเก่งแล้วเท่านั้นถึงทำได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนหัวอ่อน ความจำสั้นขนาดไหนก็สามารถเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนเรียนรู้เร็วได้ สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบ หรือวัยทำงานที่อยากเปลี่ยนงาน การเรียนรู้เร็วก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้บริษัทที่อยากทำงานเลือกคุณ คงไม่มีใครอยากสอนงานคนที่เรียนรู้ช้า ต้องสอนซ้ำๆ หรอกจริงไหม
ขั้นที่1.การทดสอบความรู้ด้วยตนเอง
ไม่ใช่การทดสอบเพื่อประเมิน แต่เป็นการฝึกฝนด้วยตนเองนอกชั้นเรียน เช่น ใช้แฟลชการ์ด บัตรคำ เพื่อทบทวนความจำ หรือใช้วิธีปิดหนังสือแล้วทบทวน เทคนิคการทดสอบด้วยตนเองใช้ได้ผลดี ถึงแม้ผู้เรียนมักจะฝึกแค่ไม่กี่ครั้ง แต่จากการทดลองจำนวนมาก ที่แสดงให้เห็นผลลัพธ์ของเทคนิคนี้ที่ช่วยให้พัฒนาการเรียนรู้และจดจำข้อมูลได้ดีขึ้น
คนที่เรียนหนังสือไม่ดี ก็สามารถเรียนดีขึ้นได้ ถ้าใช้วิธีให้ถูกต้อง ไม่ใช่การเรียนรู้แบบเดิมๆ ที่มักจะได้ผลลัพธ์แบบเดิม
ขั้นที่2.อุดช่องว่าง
สมองคนเราคิดเร็วกว่าพูดหรืออ่านมากเลยทีเดียว ผลคือเราจะเหลือพื้นที่สมองให้คิดถึงสิ่งอื่นๆ ซึ่งหมายถึง ในระหว่างที่อ่านหนังสือฟังคนอื่นพูด ความคิดของเราจะฟุ้งซ่านได้ง่าย ถ้าอุดช่องว่าง คุณจะเหลือพื้นที่ให้คิดสิ่งอื่นได้น้อย ทำให้มีสมาธิเพิ่มมากขึ้นด้วย
ขั้นที่3.ทำงานทีละอย่าง
สมาธิแบบรู้ตัวของคนเราจดจ่อได้เพียงทีละอย่างเท่านั้น และทุกครั้งที่สลับงานไปมา น้องๆจะเสียทั้งเวลา ความทุ่มเท และพลังงาน ถ้าพยายามทำงานทีละหลายๆ อย่าง หรือสลับงานไปมาอย่างรวดเร็ว ระดับความสามารถและประสิทธิภาพจะต่ำลง ด้วยเหตุนี้จึงควรโฟกัสที่งานเป็นอย่างๆ ไป
ขั้น4.ต่อจุด
ข้อมูลที่อยู่เดี่ยวๆ แทบไม่ค่อยมี มันมักจะเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ เสมอ การมองในภาพรวม การใช้ความรู้ของตัวเอง หรือจัดโครงสร้างของข้อมูลที่ได้รับจะทำให้สมองสามารถประมวลผลข้อมูลได้ง่ายขึ้น และดึงข้อมูลมาใช้ได้ถูกจุดอีกด้วย
ขั้นที่5.ใช้สมองเยอะๆ
ยิ่งใช้สมองในการซึมซับหรือทบทวนข้อมูล ก็ยิ่งประมวลผลข้อมูลได้ดี เหมือนได้บริหารสมองอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
ขั้นที่6.ใช้ภาพ
การเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพคือการพูดภาษาที่สมองเข้าใจได้ดีที่สุด ผลคือคุณจะจำข้อมูลได้รวดเร็วและนานมากยิ่งขึ้น เช่น การจำตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นเป็นภาพ การจำเรื่องราวเป็นภาพ ฯลฯ
ขั้นที่7.เทคนิคที่อาจไม่ได้ผล
เทคนิคที่เป็นที่น้องๆนิยมทำกัน ไม่มีประสิทธิภาพหรือมีประโยชน์น้อย เมื่อเทียบกับเวลาที่ต้องใช้ เมื่อเทียบกับเทคนิคที่ดีที่สุดทั้ง 2 แบบ หรือการซักถามและการอธิบาย
-Highlighting การทำไฮไลท์ หรือขีดเส้นใต้ เป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราทำ แต่การทดลองพบว่า มันจะไปลดความสามารถในการสรุปเนื้อหา เพราะมันจะทำให้เราสนใจแต่ส่วนที่เราทำไฮไลท์ไว้เท่านั้น
-Rereading การอ่านซ้ำ อาจช่วยให้จำได้ดีขึ้นบ้าง แต่ถ้าต้องแลกกับเวลาที่ใช้ เทคนิคการทบทวนหรือการฝึกทำแบบทดสอบด้วยตนเองจะให้ผลที่ดีกว่ามาก
https://www.nicetofit.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%
ปรึกษาทักพี่แอดมินได้ที่ https://www.facebook.com/TCASportfolio/inbox