TCAS65 TCAS66 มีกี่รอบ สอบวิชาอะไรบ้าง

        ช่วงนี้น้องๆ DEK64 กำลังอยู่ในช่วงการสมัครในระบบ TCAS รอบที่ 3 กันอย่างเข้มข้นจริงๆ ปีนี้เป็นปีแรกด้วยที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการคัดเลือกในรอบ 3 Admission (แบบเดิมคือรอบ 3 และ รอบ 4 ปีนี้รวบมาอยู่รอบเดียวกัน) โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ Admission 1 และ Admission 2 รับสมัครพร้อมกัน แต่แยกเกณฑ์การคัดเลือก แยกจำนวนรับ สามารถเลือกสมัครได้สูงสุด 10 อันดับ น้อง ๆ จะเลือกสมัครใช้เกณฑ์แบบใดก็ได้ การประกาศผล จะมีการประมวลผลถึง 2 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 2 เป็นการเลื่อนลำดับของตัวสำรอง และน้อง ๆ ไม่ต้องกลัวเรื่องกั๊กที่นั่ง หรือคณะ/มหาวิทยาลัยขาดคนอีกต่อไป เพราะรอบนี้ หากยืนยันสิทธิ์แล้ว สละสิทธิ์ไม่ได้ เราไปดูรายละเอียดการคัดเลือกต่าง ๆ กันเลย  ส่วนน้องๆ ชั้นมัธยมศึกษาก็ใกล้จะเปิดเทอม น้องๆ ม.5-ม.6 หรือ #dek65 และ #dek66 ก็เริ่มเตรียมตัวเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันบ้างแล้ว ซึ่งก็มีน้องๆ จำนวนไม่น้อยที่มาสอบถามทีมงานถึงระบบ TCAS65 และ TCAS66 ว่าจะเป็นอย่างไร จะเป็นไปในทิศทางไหนมาดูกันนะคะ 


TCAS65 TCAS66

 จากเอกสารประกอบการทำประชาพิจารณ์ระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2564 - 2566 (TCAS64 - TCAS66) ของ ที่ประชุม อธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) นอกจากประเด็นหลักเรื่องการทำประชาพิจารณ์แล้ว ยังมีการระบุถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นใน TCAS64 – 66 ด้วย ซึ่งจะมีความเปลี่ยนแปลงคืบหน้าดังนี้ 

TCAS 65

รายวิชาสอบส่วนกลางที่จัดสอบโดย สทศ.

  • GAT/PAT
    • GAT 1 : การอ่าน การเขียน การคิดการวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา
    • GAT 2 : การสื่อสารภาษาอังกฤษ (Expressions, Vocabulary, Reading Comprehension, Structure and Writing)
    • PAT 1 : คณิตศาสตร์
    • PAT 2 : วิทยาศาสตร์
    • PAT 3 : วิศวกรรมศาสตร์
    • PAT 4 : สถาปัตยกรรมศาสตร์
    • PAT 5 : วิชาชีพครู
    • PAT 6 : ศิลปกรรมศาสตร์
    • PAT 7 : ภาษาต่างประเทศ
  • 9 วิชาสามัญ
    • คณิตศาสตร์ 1
    • คณิตศาสตร์ 2
    • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
    • ฟิสิกส์
    • เคมี
    • ชีววิทยา
    • ภาษาไทย
    • สังคมศึกษา
    • ภาษาอังกฤษ
  • ยกเลิก O-NET 

รูปแบบการคัดเลือก 4 รอบ 4 รูปแบบ

  • Portfolio : เน้นความสามารถที่โดดเด่น
    พิจารณาจากผลงาน ไม่มีการสอบข้อเขียน หรือสอบปฏิบัติ
  • Quota : เน้นคนในพื้นที่ คุณสมบัติเฉพาะ เครือข่ายความร่วมมือ
    ใช้คะแนนสอบส่วนกลาง  หรือมหาวิทยาลัยจัดสอบเอง (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ)
  • Admission : เน้นการสอบส่วนกลาง   (สทศ. และ กสพท)
    มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกอย่างอิสระ (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ, ความถนัดทางการแพทย์)
  • Direct Admission : เน้นคนที่ยังไม่มีที่เรียน
    มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกอย่างอิสระ (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ)

TCAS 66

ปรับการสอบ

  • ลดความซ้ำซ้อนของรายวิชา
  • ปรับการวัดความรู้เชิงลึกเป็น "เน้นการนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้งานได้"
  • ข้อสอบทุกวิชาเป็นภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสอบจากข้อสอบต่างประเทศ
  • เปลี่ยนเป็นการสอบบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อลด lead time ของการเตรียมการจัดสอบ

รายวิชาสอบส่วนกลางที่จัดสอบโดย สทศ.

  • GAT 300 คะแนน (วัดความถนัด)
    • การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication)
    • การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking)
    • สมรรถนะการทำงาน : การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม, การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน, การบริหารจัดการอารมณ์, การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม
  • PAT 100 คะแนน (วัดความถนัด)
    • กสพท
    • ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
    • วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
    • สถาปัตยกรรมศาสตร์
    • ศิลปกรรมศาสตร์
  • วิชาสามัญ 100 คะแนน (วัดการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้)
    • คณิตศาสตร์ประยุกต์
    • วิทยาศาสตร์ประยุกต์
    • ฟิสิกส์
    • เคมี
    • ชีววิทยา
    • ภาษาไทย
    • สังคมศึกษา
    • ภาษาอังกฤษ
    • ภาษาต่างประเทศอื่นๆ

ช่วงเวลาการสอบ

  • วัดความถนัด : ไม่ใช่ content-based สามารถยื่นประกอบการสมัครรูปแบบ Portfolio ได้
    • GAT - สอบเดือนมิถุนายน และธันวาคม
    • PAT - สอบเดือนธันวาคม
  • วัดความรู้เชิงประยุกต์
    • วิชาสามัญ - สอบเดือนมีนาคม

รูปแบบการคัดเลือก 4 รอบ 4 รูปแบบ

  • Portfolio : เน้นความสามารถที่โดดเด่น
    พิจารณาจากผลงาน ไม่มีการสอบวัดความรู้ หรือสอบปฏิบัติ ใช้คะแนน GPAX, GAT/PAT ได้
  • Quota : เน้นคนในพื้นที่ คุณสมบัติเฉพาะ เครือข่ายความร่วมมือ
    ใช้คะแนนสอบส่วนกลาง  หรือมหาวิทยาลัยจัดสอบเอง (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ)
  • Admission : เน้นการสอบส่วนกลาง  (สทศ. และ กสพท)
    มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกอย่างอิสระ (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ)
  • Direct Admission : เน้นคนที่ยังไม่มีที่เรียน
    มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกอย่างอิสระ (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ)

ทางเลือกความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการทำประชาพิจารณ์

  1. รวมรอบการสมัครคัดเลือก รอบ 3 Admission 1 กับ รอบ 4 Admission 2 เข้าด้วยกันเป็นรอบ Combined Admission
  2. จำนวนอันดับที่ให้เลือกได้ในรอบ Combined Admission ระหว่าง 6 อันดับ 8 อันดับ และ 10 อันดับ
  3. การรวมรอบการสมัครคัดเลือกรอบที่ 1  Portfolio และ รอบที่ 2 โควตา เข้าด้วยกัน เป็นรอบ University
  4. การยืนยันสิทธิ์รอบ Combined Admission สําหรับการประกาศผลครั้งที่ 1 ควรเป็นแบบไหน
  5. การสละสิทธิ์ข้ามรอบ ควรหรือไม่ควรให้มีการสละสิทธิ์ข้ามรอบได้ (ยกเว้นรอบที่ 1 ให้สละสิทธิ์ได้ในรอบ 1 และ 2)
  6. การรวมรอบการสมัครคัดเลือกรอบที่ 1 Portfolio กับ รอบที่ 2 Quota เข้าด้วยกัน เป็น รอบ University
  7. ช่วงเวลาเปิดรับสมัครด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ควรเป็นช่วงไหน ระหว่าง
  • เปิดเทอมต้น ของชั้น ม.6 หรือ
  •  เปิดเทอมปลาย ของชั้น ม.6 หรือ
  • ต้นเดือนธันวาคม เหมือน TCAS63
 
ซึ่งหากน้องๆ คุณครู ผู้ปกครอง หรือบุคคลทั่วไป ที่ต้องการกำหนดทิศทางระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2564 - 2566 (TCAS64 - TCAS66)

สามารถลงทะเบียนร่วมงาน ได้ที่ >> การลงทะเบียน “การประชาพิจารณ์ TCAS64 – 66”

#ขอบคุณข้อมูลจาก Dek-d.com และ Admissionpremium.com 

ติดตามสามช่องทางใหม่ TCASPORTFOLIO.COM ได้ที่ 
FACEBOOK : https://web.facebook.com/TCASportfolio/
INSTAGRAM : https://www.instagram.com/tcasportfolio/?hl=th
TWITTER : https://twitter.com/home?logout=1573110522519&prefetchTimestamp=1573110522528

ปรึกษาทักพี่แอดมินได้ที่ https://www.facebook.com/TCASportfolio/inbox